วิลล่า มูเซ่

บ้านเรือนไทย


  • วิลล่า มูเซ่

    เรือนสัตยาธิปตัย


    เรือนไทยหมู่ภาคกลางสีแดงชาด สถาปัตยกรรมไทยจากย่านฝั่งธนบุรีที่สืบทอดศิลปะการปรุงเรือนมาแต่ครั้งแผ่นดินอยุธยา เมื่อมองจากภายนอกเราจะเห็นหมู่เรือนไทยที่ตั้งตระหง่าน สระน้ำเกลือขนาดพอเหมาะที่เคียงคู่ศาลาเก๋งญวณ ชุดรับแขกไม้ประดับหินอ่อน เมื่อเข้าสู่ภายในจะพบกับห้องพักที่ประดับตกแต่งหลากวัฒนธรรมตามการบันทึกของนักเดินเรือชาวตะวันตก พ่อค้าวาณิช และศิลปินช่างถ่ายภาพที่เดินทางจากทั่วทุกสารทิศ เสมือนว่าได้ซ่อนโลกอีกใบไว้เพียงหลังบานประตู โดยหมู่ห้องพักนั้นจัดเป็น ๒ ชุด ตั้งตามชื่อบุคคลสำคัญในวงการถ่ายภาพยุคแรกของสยามประเทศ และจุดหมายปลายทางสำคัญของนักเดินทางในแถบทะเลจีนใต้อีกชุดหนึ่ง

    เพิ่มเติม
  • วิลล่า มูเซ่

    เรือนสิงหฬสาคร


    เรือนไทยแฝดฝาลายปะกนจากจังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้ย้ายมาปรุงกลางเขาใหญ่แห่งนี้ได้อย่างเหมาะเจาะ เพราะนี่คือวิถีชีวิตอันละมุนละไมเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติที่สะท้อนการออกแบบเรือนไทยมาทุกยุคทุกสมัย ภายในเรือนยังได้รับการออกแบบประยุกต์ภูมิปัญญาจากอดีตเข้ากันกับนวัตกรรมสมัยใหม่ ด้วยการยกหลังคาสูงเพิ่มพื้นที่และความรู้สึกโล่งสบาย ตกแต่งด้วยเครื่องเรือนไม้สักโบราณภายในเรือนแบ่งการใช้งานออกเป็นสัดส่วน ทั้งส่วนรับแขกที่ตกแต่งด้วยเครื่องลายคราม งานไม้แกะสลัก บนพรมทอมือซึ่งของทุกชิ้นล้วนเป็นงานฝีมือที่ผลิตอย่างตั้งใจ ทำให้เรือนหลังนี้กลายเป็นสวรรค์บนพื้นที่เล็กๆที่จะมอบความเป็นส่วนตัวที่สุด

    เพิ่มเติม
  • วิลล่า มูเซ่

    เรือนราชพงศา


    เรือนไม้สถาปัตยกรรมผสมผสานทรงปั้นหยา ที่ปลูกสร้างมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเมื่อก้าวเท้าเข้าสู่ตัวเรือน สัมผัสแรกที่ทุกคนจะได้รับคือความสงบร่มเย็น สบายตา เรียบง่ายทว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยพื้นกระดานไม้สักแผ่นใหญ่สะท้อนความมันวาวอวดโฉมลายไม้ที่ทอดยาวไปจรดศาลาท่าน้ำหลังงาม สู่สระน้ำขนาดใหญ่ เคียงข้างน้ำตกใสสะอาด เรือขุดลำยาวที่ทอดตัวอยู่เคียงข้างศาลาท่าน้ำ พร้อมมวลหมู่ปลาน้อยใหญ่ที่แหวกว่ายอยู่ภายใต้น้ำใสสะอาด เสียงน้ำตกที่ไหลเอื่อยๆแผ่วเบา ข้าวของเครื่องใช้ภายนอกบ้าน ทั้งชุดโต๊ะไม้รับแขกอย่างจีน เครื่องลายครามชุดย่อม แสดงถึงวิถีชีวิตเรียบง่าย สบายๆของผู้คนในยุคนั้น

    เพิ่มเติม
  • วิลล่า มูเซ่ - เรือนอนุรักษ์โกษา

    เรือนอนุรักษ์โกษา


    การตกแต่ง "เรือนอนุรักษ์โกษา" จึงสะท้อนบทบาทด้านการทำงานของท่านเจ้าของนามเรือนและครอบครัว ด้วยลักษณะอาคารชิโนโปรตุกีสที่มีมนต์เสน่ห์และเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น ได้ปลูกสร้างใหม่โดยนำประตู หน้าต่าง ประดับกระจกสีสมัยศตวรรษที่ ๑๙ จากประเทศพม่าและอินเดียมาตกแต่ง พร้อมบันไดวนเหล็กหล่อลายวิจิตรอายุกว่าร้อยปี ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพถ่ายอาคาร บ้านและตึกที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน ตกแต่งด้วยมุมห้องทำงานซึ่งเป็นตัวแทนของพระยาอนุรักษ์โกษา และมุมหนังสือซึ่งเป็นตัวแทนของ ศ.ดร.เดือน จึงทำให้เรือนหลังนี้มีกลิ่นอายย้อนยุคทางด้านสถาปัตยกรรม และการตกแต่งที่เสมือนมีการใช้งานรับรองแขกอยู่ตลอดเวลา จนเมื่อมองผ่านตาแล้วดูคล้ายว่าเป็นอาคารโบราณอยู่คู่สถานที่แห่งนี้มาอย่างยาวนานหลายยุคสมัย

    เพิ่มเติม